5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณกำลังเข้าใจผิดอยู่หรือเปล่า
ในปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากหันมาใส่ใจเรื่องการออกกำลังกาย และอาหารการกินกันมากขึ้นไม่ต่างจากผู้สูงอายุมากนัก หากพูดถึงการออกกำลังกายสมัยนี้ก็คงไม่พ้นการวิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก บางคนที่เริ่มกำลังกายใหม่ๆ ก็อาจจะรู้สึกปวดเข่า เพราะกล้ามเนื้อหัวเข่ายังไม่ชิน และยังแข็งแรงไม่พอ ซึ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิ่งนั้นต้องเคยได้ยินประโยคที่ว่า “วิ่งมากๆ แล้วจะข้อเข่าเสื่อม” ทำให้กลายเป็นความเชื่อที่ส่งต่อกันมาเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เรามาเช็คกันดีกว่าว่าพฤติกรรมหรือกิจกรรมแบบไหนบ้างที่มีอิทธิพลต่อโรคข้อเสื่อม
ความเชื่อที่ 1 การวิ่งทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม จริงหรือ?
“วิ่งมากๆ แล้วจะข้อเข่าเสื่อม” ประโยคยอดฮิตติดหูที่ผู้เริ่มต้นการวิ่งต้องเคยได้ยินแทบจะทุกคน ทำให้กล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะวิ่งอย่างเต็มที่ เพราะกลัวเกิดปัญหาโรคข้อเสื่อมตามมา แต่ความเป็นจริงแล้วจากการรายงานของแพทย์หลายคนยืนยันว่า “ไม่เป็นความจริง”
หลายคนเริ่มสงสัยกันแล้วใช่มั้ยล่ะว่า อาการบาดเจ็บของข้อเข่าที่เกิดขึ้นหลังจากการวิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร อาการดังกล่าวที่เกิดจากการวิ่งเป็นเรื่องปกติทั่วไปของผู้ที่เริ่มต้นใช้กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งมือใหม่ เนื่องจากกล้ามเนื้อยังไม่ชิน และแข็งแรงไม่พอ แต่พอหยุดพักหรือออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ก็จะทำให้อาการบาดเจ็บข้อเข่าทุเลาลงหรือไม่ค่อยบาดเจ็บ เนื่องจากกล้ามเนื้อเริ่มแข็งแรงขึ้น และคุ้นเริ่มคุ้นชินนั่นเอง
ความเชื่อที่ 2 เป็นโรคข้อเสื่อมไม่ควรออกกำลังกาย จริงหรือ?
ผู้ป่วยด้วยโรคข้อเสื่อมส่วนใหญ่มักจะงดทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด แต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถออกกำลังกายได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกายให้เหมาะสมขึ้นนั่นเอง เพราะการออกกำลังกายจะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดข้อต่าง ๆ ให้แข็งแรงมากขึ้น แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบหนัก ๆ เพราะจะยิ่งส่งผลต่อข้อเข่าได้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม มีดังนี้
⦁ ออกกำลังกายด้วยวิธีแอโรบิก เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนัก และสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ซึ่งแพทย์แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30 นาที เป็นเวลา 4 วันต่อสัปดาห์ ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เหมาะสมกับผู้ป่วยข้อเสื่อม มีดังนี้
⦁ การปั่นจักรยาน จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อเข่าได้เป็นอย่างดี
⦁ การเดิน หากมีปัญหาด้านการทรงตัวขณะเดิน ก็สามารถเดินบนลู่วิ่ง หรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวได้
⦁ วารีบำบัดหรือกิจกรรมทางน้ำ เช่น การว่ายน้ำ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง เนื่องจากน้ำจะช่วยลดแรงกดทับได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
⦁ ไทเก็กหรือโยคะ เป็นการออกกำลังกายที่มีการผสมผสานระหว่างการเคลื่อนไหวของร่างกาย การผ่อนคลาย และการหายใจ โดยการออกกำลังกายในลักษณะนี้จะช่วยซ่อมแซมการทำงานของกล้ามเนื้อ และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ
⦁ การยืดกล้ามเนื้อ การยืดกล้ามเนื้อจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ทำให้อาการปวดทุเลาลง อย่างไรก็ตามแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะออกกำลังกายประเภทนี้
ความเชื่อที่ 3 โรคข้อเสื่อมเกิดจากวัยทอง จริงหรือ?
ก่อนอื่นเลยต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคข้อเสื่อมนั้นเกิดจากการที่กระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่ปกป้อง และดูดซับแรงกระแทกภายในข้อมีการสึกหรอ และเสื่อมสภาพลง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม ได้แก่
⦁ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือช่วงวัยทอง จะเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อจะเสื่อมสภาพลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีอายุน้อย ๆ จะไม่มีโอกาสเป็นโรคข้อเสื่อมได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้
⦁ ผลจากโรคข้ออักเสบ คนที่ป่วยเป็นโรคเกาท์ หรือรูมาตอยด์ มีอาการของโรคคือทำให้ข้ออักเสบ ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าอักเสบได้ด้วย
⦁ เกิดการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ เช่น ผู้ที่เล่นกีฬา หรือเกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ทำให้มีโอกาสจะเกิดโรคข้อเสื่อมในอนาคตได้ง่ายกว่าปกติ
⦁ น้ำหนักเกิน ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่มักจะพบในหมู่คนที่เป็นโรคอ้วน มีน้ำหนักมากเกินไป
⦁ ทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อม ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงเช่นกัน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมนั้นไม่ได้มาจากวัยทองเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นผลจากโรคข้ออักเสบ เกิดจากอาการบาดเจ็บ มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือแม้กระทั่งพันธุกรรม เหล่านี้ก็สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้ด้วยเช่นกัน
ความเชื่อที่ 4 อาหารการกินส่งผลต่อโรคข้อเสื่อม จริงหรือ?
อาหารการกินเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาการข้อเสื่อม เราลองมาดูกันว่าอาหารประเภทไหนควรทาน และอาหารประเภทไหนควรหลีกเลี่ยง
อาหารที่ควรทาน
⦁ อาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ รวมถึงวิตามินซีเสริมในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยลดการอักเสบของข้อต่อต่าง ๆ ได้
⦁ อาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูง เช่น ชาเขียว มะเขือเทศ หัวหอม เพราะสารดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดอาการบาดเจ็บของข้อเข่าได้ดีเช่นเดียวกัน
⦁ อาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น อาหารทะเล นม และไข่ รวมไปถึงการรับแสงแดดอ่อน ๆ ในยามเช้า เนื่องจากวิตามินดี จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น
⦁ อาหารประเภทกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งได้แก่ ปลาทะเล แซลมอน ทูน่า โอเมก้า3 จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ลดอาการปวดข้อ และกระดูก
⦁ สมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมุนไพรไทยใกล้ตัวเรา เช่น ⦁ ขิง ขมิ้น ซึ่งมีส่วนช่วยลดการบาดเจ็บ และอาการปวดข้อเข่าได้ดี แต่ก็มีข้อระมัดระวังในทาน เพราะหากทานมากเกินไปก็อาจทำให้ปวดแสบท้องได้
อาหารที่ควรเลี่ยง
⦁ อาหารที่มีเกลือสูง ไม่ว่าจะเป็นอาหารหมักดอง ขนมขบเคี้ยว เพราะการรับประทานเกลือมากเกินไป จะทำน้ำถูกดึงเข้าสู่เซลล์ ทำให้ข้อต่อขาดน้ำหล่อเลี้ยงและเสียความยืดหยุ่นนั่นเอง
⦁ อาหารที่มีน้ำตาลสูง เนื่องจากการมีน้ำตาลในเลือดสูง จะกระตุ้นการอักเสบในร่างกายให้รุนแรงขึ้น
⦁ อาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารจานด่วน เพราะไขมันจะทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้เช่นเดียวกันกับอาหารที่มีน้ำตาลสูง
⦁ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และอาการปวดข้อรุนแรงมากขึ้น
ความเชื่อที่ 5 ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมสามารถดูแลตัวเองได้ที่บ้าน จริงหรือ?
การป้องกันโรคข้อเสื่อมไม่ให้มีอาการหนักขึ้นหรือกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถทำได้โดยการดูแลรักษาสุขภาพ ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายที่เหมาะสม หากปรับพฤติกรรมเหล่านี้ให้ไปในทางที่ดีขึ้นได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่ออาการของข้อเสื่อมได้อีกด้วย
ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่กำลังรักษาด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควรจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อผู้ป่วยพบว่าตนเองมีอาการหรือความกังวลใด ๆ เกิดขึ้น ก็ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลทราบ เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างตรงจุด และนอกจากนั้นผู้ป่วยก็ยังสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่
⦁ ประคบเย็น ประคบร้อน เนื่องจากความเย็น และความร้อนจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ดีทีเดียว โดยความร้อนจะช่วยบรรเทาข้อฝืด ส่วนความเย็นจะช่วยลดการหดเกร็ง และความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อได้
⦁ ใช้ที่รัดเข่า สามารถสอบถามวิธีที่ถูกต้องในการใช้ที่รัดเข่าจากแพทย์ ซึ่งจะทำให้ได้รู้ว่าควรรัดที่ตำแหน่งใดจึงจะเหมาะกับอาการมากที่สุด
⦁ ใช้ครีมหรือเจล ครีมหรือเจลที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวด สามารถช่วยทุเลาความปวดจากข้อเสื่อมได้ แต่ก็เป็นแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น
⦁ อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินหรืออุปกรณ์เสริมรองเท้า ซึ่งจะช่วยลดแรงกด และรองรับน้ำหนักที่ข้อเข่าได้เป็นอย่างดี
เช็คลิสต์ 5 ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ในปัจจุบันปฏิเสธแทบไม่ได้เลยว่าผู้คนจำนวนมากหันมาใส่ใจการออกกำลังกาย รวมไปถึงอาหารการกินเป็นจำนวนมาก และถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม แล้วกิจกรรมแบบไหนที่เหมาะสม อาหารประเภทไหนที่ควรเลี่ยง และปัจจัยอะไรที่ก่อให้เกิดโรคข้อเสื่อม ไปเช็คลิสต์ความเชื่อเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันเล
Website :https://www.wellnessmarkshop.com/blog
Line@ : @wmshop
Tel : 02-123-1310
- "เอมี่" จัดทริปฉลองวันเกิดขึ้นเลข 4 ให้เพื่อนรัก สองสาวทริปนี้แซ่บมาก
- “น้ำเจ้าพระยาทะลัก! ชุมชนท่าอิฐอ่วม น้ำสูงท่วมบ้าน ‘ยายวัย 74 ปี’ พร่ำเพรียกหาความช่วยเหลือ”
- “พลิกโฉมดิจิทัลวอลเล็ต! ‘จุลพันธ์’ เผยอาจเปลี่ยนแผนจ่ายเงินสดบางส่วน กระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น
- “ระทึก! รัสเซียโจมตีครั้งใหญ่! ขีปนาวุธถล่มยูเครน ส่งผลเสียชีวิต 51 ราย เจ็บ 271”
- “ศาลชี้ขาด! ‘ครูไพบูลย์’ จำคุก 8 ปี คดีพรากผู้เยาว์ ‘กระต่าย’ เลิกอย่างเป็นทางการ สรุปมหากาพย์ดราม่าช็อกวงการ”